เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย ทักษะและกระบวนการเรียนรู้ทางคณิตฯ
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
การสอนคณิตศาสตร์เพื่อมุ่งให้เกิดทักษะที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving), ทักษะการมองเห็นภาพหรือรูปแบบที่ซ่อนอยู่ (Patterning), ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการให้เหตุผล (Creative Thinking and Reasoning) และทักษะการสื่อสาร (Communication) เพื่อให้เกิดความร่วมมือและพบวิธีหรือคำตอบเอง (Meta cognition)

Week 9-11 : พื้นฐานทางเรขาคณิต

Web เชื่อมโยงเนื้อหาเกี่ยวกับพื้นฐานทางเรขาคณิตที่ครูจะใช้สอนเด็กนักเรียนในTopic นี้



เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างรูปเรขาคณิตโดยใช้วงเวียนและวิธีการสร้างพื้นฐาน และนำการสร้างพื้นฐานไปสร้างรูปเรขา คณิตอย่างง่ายได้ สามารถ สังเกต และคาดการณ์เกี่ยวกับสมบัติทางเรขาคณิตและสามารถนำความมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้
Week
Input
Process
Output
Outcome






9 - 11

7 ก.ค. 2557
ถึง
25 ก.ค. 2557


โจทย์
พื้นฐานเรขาคณิตฯ

Key  Question
นักเรียนคิดว่าเรขาคณิต เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำของเราเรื่องใดบ้าง / หากเราจะศึกษาเรื่องเรขาคณิตเราต้องรู้เกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง

เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาการคิด
- นำเสนอเกี่ยวกับการเขียนความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานเรจาคณิต
place mat
เขียนว่าพื้นฐานเรขาคณิต น่าจะรู้เกี่ยกับเรื่องใดบ้าง


ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- เรื่องเล่าประสบการณ์ของนักคณิตฯ
- เกมการคิดทางคณิตฯ

- รูปโมเดลจำลองเรขาคณิต


ชง :  ครูและนักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมเกี่ยวกับเลขยกกำลัง
- นักเรียนร่วมเล่าเกี่ยวกับความรู้เดิมที่เรียนผ่านมา
- พานักเรียนเรียนฝึกทำโจทย์การคิด
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "จากโจทย์ที่กำหนดให้นักเรียนได้ผลลัพธ์เท่าไร และมีวิธีคิดอย่างไร?"
- ครูช่วยแนะนำตามที่นักเรียนสงสัย หรืออธิบายเพื่อชี้แนวทางวิธีคิดให้(ไม่บอกวิธี และไม่บอกคำตอบ)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดสม่ำเสมอ
ใช้ : นักเรียนที่ยกมือ ออกมาแสดงวิธีคิดให้เพื่อนๆ และคุณครูช่วยเพิ่มเติม
เชื่อม : ครูตั้งคำถามกับเพื่อนๆ ที่ออกมาอภิปรายและเพื่อนๆ ที่กำลังนั่งชมวิธีคิดของเพื่อนๆ
- โดยที่ครูช่วยขมวดวิธีคิดของนักเรียน และให้เพื่อนๆ นักเรียนคนอื่นร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : ครูเล่าเรื่องเกี่ยวกับนักคณิตศาสตร์ที่ออกแบบโมเดลจำลอง โดยใช้หลักการพื้นฐานทางเรขาคณิตมาสร้างโมเดล
 - ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าเรขาคณิต เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำของเราเรื่องใดบ้าง / หากเราจะศึกษาเรื่องเรขาคณิตเราต้องรู้เกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนยกมือตอบคำถาม อธิบายความรู้ความเข้าใจของแต่ละคน
- แบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่มเท่าๆ กัน ให้นักเรียนเขียนว่าพื้นฐานเรขาคณิต น่าจะรู้เกี่ยกับเรื่องใดบ้าง(place mat)
- นักเรียนร่วมกันปรึกษาความเข้าใจของตนเองกับเพื่อนๆ หลังจากเขียนเสร็จ
ใช้ : นักเรียนถ่ายทอดความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานเรขาคณิต
เชื่อม :  นักเรียนสรุปประเด็กที่เพื่อนๆ นำเสนอต่างจากความรู้ของเรา เพิ่มเติมกัน
- ครูและเพื่อนๆ ค่อยซักถามข้อสงสัยจากเพื่อนแต่ละกลุ่มนำเสนอมา
ใช้ :  นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปชาร์ตความรู้พื้นฐานเรขาคณิต
- ให้นักเรียนออกแบบรูปร่าง / รูปทรง จากพื้นฐานเรขาคณิต
- ครูให้ใบงานเกี่ยวกับโจทย์สอบถามความเข้าใจพื้นฐานเรขาคณิต
ภาระงาน
- นักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องเลขยกกำลัง
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นจากการแก้โจทย์ ปัญหาเลขยกกำลัง
- นักเรียนเขียนถ่ายทอดความเข้าใจของแต่ละคนเกี่ยวกับพื้นฐานทางเรขาคณิต
- นักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบPlace matความรู้เกี่ยวกับเรขาคณิต
- เขียนสรุปประเด็นสำคัญเกี่ยวกับพื้นฐานเรขาคณิตที่เพื่อนนำเสนอ
- ทำชาร์ตชุดความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานทางเรขาคณิตลงA4 และออกแบบรูปร่างรูปทรงทางเรขาคณิต

ชิ้นงาน
- ชาร์ตความรู้พื้นฐานเรขาคณิต
- ใบงานเกี่ยวกับโจทย์พื้นฐานเรขาคณิต
-
ความรู้
การสร้างรูปเรขาคณิตโดยใช้วงเวียนและวิธีการสร้างพื้นฐาน และนำการสร้างพื้นฐานไปสร้างรูปเรขา คณิตอย่างง่ายได้ สามารถ สังเกต และคาดการณ์เกี่ยวกับสมบัติทางเรขาคณิต
ทักษะ
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
- สามารถให้เหตุผลเกี่ยวกับวิธีคิดที่ตนเองในเรื่องพื้นฐานเรขาคณิต และเพื่อนๆ ช่วยกันตรวจสอบ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
- สามารถวิเคราะห์โจทย์เกี่ยวกับโจทย์พื้นฐานเรขาคณิตโดยนำสิ่งที่เรียนมามาประยุกต์ใช้ในการคิด
ทักษะการแก้ปัญหา
- สามารถแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวโจทย์สถานการณ์เกี่ยวกับพื้นฐานเรขาคณิต
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนเกี่ยวกับพื้นฐานเรขาคณิตนำมาเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นและอธิบายความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้

คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด / ที่แตกต่าง / เพิ่มเติมความคิดเห็น
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน พื้นฐานทางเรขาคณิต

โจทย์การคิดการสอนคณิตศาสตร์ 
และตัวอย่างชิ้นงานของนักเรียน 


1 ความคิดเห็น:

  1. โยงเข้าสู้เรื่องเรขาคณิต ในสาระที่ 3 ครูวางแผนไว้อยากให้นักเรียนได้เข้าใจเกี่ยวรูปร่างหรือรูปทรง
    ก่อนที่จะเข้าสู้เนื้อหาการคำนวณหาพื้นที่ของรูปร่างรูปทรง ในสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ม.1 ซึ่งเนื้อหาหลายๆ ส่วนเด็กๆ เรียนรู้ในระดับประถมศึกษามาก่อนหน้านี้แล้ว และคุณครูจึงได้ทบทวน เช่น ส่วนของเส้นตรง รังสี
    ในกิจกรรมดังกล่าวเป็นเรื่องที่นักเรียนต้องทำการบ้านเกี่ยวกับเรียนรู้ไป พร้อมกันหาการบ้านให้ตัวเองเพื่อที่จะสรุปเนื้อหาความเข้าใจเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง เรียนรู้ผ่านการวัดจริง การวัดมุม
    และสุดท้ายนักเรียนได้ประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานทางเรขาคณิตฯ มาใช้ในการออกแบบในงานศิลปะต่างๆ ในกิจกรรมการเรียนรู้Active Learning ของเด็กๆ ทุกคน ในการเรียนรู้ในด้านวิชาอื่นๆ อีกด้วย

    ตอบลบ