เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย ทักษะและกระบวนการเรียนรู้ทางคณิตฯ
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
การสอนคณิตศาสตร์เพื่อมุ่งให้เกิดทักษะที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving), ทักษะการมองเห็นภาพหรือรูปแบบที่ซ่อนอยู่ (Patterning), ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการให้เหตุผล (Creative Thinking and Reasoning) และทักษะการสื่อสาร (Communication) เพื่อให้เกิดความร่วมมือและพบวิธีหรือคำตอบเอง (Meta cognition)

Week 1-4 : ทักษะกระบวนการคิดทางคณิตฯ

Web เชื่อมโยงเนื้อหา ทักษะต่างๆ ที่จะเกิดกับเด็กนักเรียนในTopic นี้


เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เชื่อมโยงกับความรู้ มาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้

Week
Input
Process
Output
Outcome







1 – 4

14  พ.ค. 2557
ถึง
6 ก.ค. 2557


โจทย์
ทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์
Key  Questions
- นักเรียนมีวิธีการคิด จากโจทย์ที่ครูให้อย่างไร
- ใครมีวิธีคิดที่แตกต่าง / ใครที่อยากอธิบายวิธีคิดเพิ่มเติมบ้าง
เครื่องมือคิด
Show and Share นำเสนอวิธีคิด จากโจทย์ฝึกทักษะ
ของนักเรียน
Brainstorm ระดมความคิดเกี่ยวกับการฉีกกระดาษให้ตัวเองลอกผ่านได้
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- แผนกระดาษขนาด 3X3 cm
- แผนโจทย์การคิด


ชง :  ครูพาเล่นเกม 24 และเกม 108IQ
เกม 24   กติกาใช้ บวก ลบ คูณ หาร มาดำเนินการ
3   8   6   5  = 24
4   7   1   9  = 24
เกม  108IQ  กติกาใช้ บวก ลบ คูณ หาร และรากที่ ยกกำลัง มาดำเนินการ
1  9  3  5  6   =  93
3  5  7  4  9   = 57
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ใครได้คำตอบจาก โจทย์ที่กำหนดให้และมีวิธีคิดอย่าไร?”
เชื่อม : นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น นำเสนอวิธีการคิดของตนเองให้ครูและเพื่อนๆ ฟัง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดอย่างสม่ำเสมอ “ใครมีวิธีคิดที่ต่าง?”
- สร้างบรรยากาศสู่การเรียนรู้ เลือกนักเรียนหลายๆ คน(ไม่เน้นคนเดิม) ได้นำเสนอวิธี
เชื่อม : นักเรียนที่มีวิธีคิดที่แตกต่าง ได้ร่วมนำเสนอวิธีคิดที่ต่าง  แต่อาจจะมีคำตอบเดียวกัน และอธิบายวิธีคิดให้เพื่อนๆ ได้มองเห็นภาพขั้นตอนวิธีคิด

ชง : ครูเขียน(ติดโจทย์)โจทย์ฝีกทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์
“นักเรียนช่วยคุณครูหาจำนวน ? คือจำนวนใด และมีวิธีคิดอย่างไร”
เชื่อม : นักเรียนออกแบบวิธีคิดลงในสมุดทดคิด
- สามารถปรึกษาเพื่อนๆ คนใกล้ตัวได้ แล้วยกมือนำเสนอวิธีคิด
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดสม่ำเสมอ แนะนำวิธีคิดจากข้อสงสัยของนักเรียน(ไม่บอกวิธี หรือคำตอบใดๆ)
ใช้ : นักเรียนนำเสนอวิธีคิดของตนเองให้เพื่อนๆ และครูดู
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ใครมีวิธีคิดที่ต่าง? หรืออยากอธิบายเพิ่มเติมจากเพื่อนๆ”
- ครูให้โจทย์ใหม่ที่ท้าทายมากขึ้น
ชง : ครูนำกระดาษรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 3X3 cm มาแจกให้นักเรียนทุกคน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ให้นักเรียนฉีกกระดาษขนาด 3X3 cm ให้ตัวเองสามารถลอดผ่านได้ นักเรียนแต่ละคนจะมีวิธีการฉีกอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนมองกระดาษ คิดรูปแบบการฉีก ออกแบบร่องรอยการจะฉีกกระดาษดังกล่าว
- ระดมความคิดกับเพื่อนๆ เพื่อหาวิธีการฉีกกระดาษ
- ครูช่วยอำนวยการเรียนรู้ จัดให้แต่ละหามุมหรือแนะนำวิธีการตามที่นักเรียนซักถามข้อสงสัย
ใช้ : นักเรียนมาอธิบายการฉีกกระดาษให้ครูและเพื่อนๆ รับฟัง การอภิปรายวิธีคิด(ทั้งคนที่ฉีกได้ / คนที่ฉีกแล้วลอดไม่ผ่านด้วย)
- ครูให้โจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น (กระดาษขนาดเล็กลงอีก)
ชง : ครูเขียน(ติดโจทย์)โจทย์ฝีกทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์


“นักเรียนช่วยคุณครูหาจำนวน ? คือจำนวนใด และมีวิธีคิดอย่างไร”
เชื่อม : นักเรียนออกแบบวิธีคิดลงในสมุดทดคิด
- สามารถปรึกษาเพื่อนๆ คนใกล้ตัวได้ แล้วยกมือนำเสนอวิธีคิด ออกมานำเสนอวิธีคิดที่หลากหลายของแต่ละคน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดสม่ำเสมอ แนะนำวิธีคิดจากข้อสงสัยของนักเรียน(ไม่บอกวิธี หรือคำตอบใดๆ)
ใช้ : นักเรียนนำเสนอวิธีคิดของตนเองให้เพื่อนๆ และครูดู
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ใครมีวิธีคิดที่ต่าง? หรืออยากอธิบายเพิ่มเติมจากเพื่อนๆ”
- ครูให้โจทย์ใหม่ที่ท้าทายมากขึ้น
ภาระงาน
- ช่วยกันคิดวิธีการฉีกกระดาษอย่างไร ให้ตัวเองลอดผ่านได้
- หาวิธีคิดที่แตกต่างจากของเพื่อน ลงในสมุดทดคิด ทุกๆ โทย์ที่ครูกำหนดให้

ชิ้นงาน
- ใบงาน / โจทย์การคิด
- กระดาษที่ได้จากการฉีกขนาด 3X3 cm
ความรู้
ทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เชื่อมโยงกับความรู้ มาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้

ทักษะ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
- สามารถวิเคราะห์โจทย์โดยนำสิ่งที่เรียนมาปรับประยุกต์ใช้
ทักษะการให้เหตุผล
- สามารถให้เหตุผลสำหรับความสัมพันธ์จากผลการสังเกตวิธีคิดของตนเองกับของเพื่อน
ทักษะการแก้ปัญหา
- สามารถแก้ปัญหาโจทย์การการคิดที่เป็นโจทย์ปัญหาได้
ทักษะการเห็นแบบรูป
- มองเห็นความสัมพันธ์ของแบบรูปจากโจทย์ที่หลากหลาย
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนเกี่ยวกับทักษะทางคณิตฯ  เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นและอธิบายความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้

คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ภาพกิจกรรรมการเรียนการสอนเกี่ยวกับทักษะการคิดทางคณิตฯ

ตัวอย่างชิ้นงานและตัวอย่างโจทย์ปัญหาการคิด



1 ความคิดเห็น:

  1. เริ่มต้นการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาปีนี้ ทีมครูคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาพูดคุยกันถึงการเตรียมความพร้อมผู้เรียน ในวิชาคณิตศาสตร์
    พบปัญหา คือ
    - นักเรียนยังไม่เข้าใจพื้นฐานทางจำนวน และกระบวนการคิด การจัดกระทำข้อมูลจากโจทย์คณิตศาสตร์
    - ครูมีแบบวัดความเข้าใจ Number Sense ทางคณิตฯ ให้นักเรียนแต่ละระดับทดสอบดูความเข้าใจนั้น นักเรียนเกินครึ่งยังมองไม่เห็นความเชื่อมโยง วิธีคิดที่หลากหลาย ฐานการคิดทางคณิตศาสตร์ยังมีน้อย
    - ครูต้องการปูพื้นฐานทางทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ให้กับผู้เรียน เช่น ทักษะการแก้ปัญหา, การทองเห็นรูปแบบที่ซ่อนอยู่, การเชื่อมโยง, การสื่อสาร, การให้เหตุผลและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

    ครูจึกทำ Lesson Study ในหน่วยแรกของ ม.1 ในเรื่องทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์
    เพื่อเป็นการปูพื้นฐานการเรียนรู้ในระดับมัธยมศึกษา และเป็นการทดสอบง่ายๆ ประเมินพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียน ก่อนที่จะเริ่มต้นเรียนในหน่วยที่ยากขึ้นอีกระดับ

    หลังจากสอนประมาณ 3-4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ครูเริ่มต้นด้วยกิจกรรม เกม24 , เกม 108IQ
    กิจกรรมที่จะเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ ก่อนการเรียนรู้ทุกครั้ง ก่อนเรียนรู้สัก 5-10 นาที นักเรียนแต่ละคนได้เห็นความท้าทายของฐานการคิดตัวเลขทางคณิตศาสตร์ ความเชื่อมโยงสู่วิธีคิดที่หลากหลายทุกวัน ซ้ำๆ
    และจากนั้นครูเริ่มต้นแทรกิจกรรมการคิดให้กับผู้เรียน และให้โจทย์ฝากกลับไปคิดทบทวนเป็นการบ้านอย่างสม่ำเสมอทุกๆ สัปดาห์
    นักเรียนให้ความสนใจเกี่ยวกับการคิดทางคณิตศาสตร์เป็นอย่างดี และเกิดทักษะการเชื่อมโยงดีมากๆครับ ในกิจกรรมการเรียนรู้หน่วยนี้

    ตอบลบ